วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยกรุงธนบุรี

             

            อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรของคนไทยในช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2310 - 2325 มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังจากที่อาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการปล้นกรุงศรีอยุธยาของกองทัพพม่า ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
               



       การกอบกู้เอกราช

            เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[1] พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้ให้เป็น "เจ้าชาย"[2] และตีได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310[3]
           ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น
         ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา[4] และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนุบรี[5]





             
 
       การรวมชาติและการขยายตัว

            ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง[6]  ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311[7] เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพะรเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์ทรงโปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ[8]
         ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้  ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้ ชุมนุมฝางจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรธนบุรี



              

        การสิ้นสุด

            ช่วงปลายรัชกาล เกิดการรัฐประหารแย่งชิงบัลลังก์จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[9] เจ้าพระยาจักรีทราบข่าวก็รีบกลับมายังพระนคร เมื่อสืบสวนเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ข้าราชการก็ฟ้องร้องว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นเหตุ เนื่องจากทรงมีสติฟั่นเฟือน[10] ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2325 เจ้าพระยาจักรีจึงเข้าควบคุมสถานการณ์ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี[11]

         

      การปกครอง

           การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

 การปกครองส่วนกลาง

      กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
  • สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"
  • สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"
ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

 การปกครองส่วนภูมิภาค

  • หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
  • เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง

เศรษฐกิจ

         ในช่วงต้นรัชกาล สภาพบ้านเมืองเสียหายจากสงครามกับพม่าอย่างหนัก มีการขาดแคลนอาหารเนื่องจากขาดการทำนามานาน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสละทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์และท้องพระคลังเพื่อซื้อข้าวมาบรรเทาความอดอยากของผู้คนทั้งหลาย และยังเป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านที่หนีไปอยู่ตามป่าเขากลับมาอาศัยอยู่ในกรุงด้วย
นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรือกับต่างชาติ เนื่องจากไม่อาจพึ่งรายได้จากภาษีอากรจากผู้คนที่ยังคงตั้งตัวไม่ได้ อีกทั้งการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมืองยังเป็นการสร้างงานให้กับชาวบ้าน โดยพระองค์ได้ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์ทางการค้ามากยิ่งขึ้น[12][13][14]

 สังคม

          สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น
1.พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม
4.ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม
5.ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายเงินมาก
หลังจากบ้านเมืองแตกแยก เพราะการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาแล้ว เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น พม่าจึงเล็งเห็นว่า ไม่ต้องการให้อาณาจักรสยามเจริญได้อีก จึงต้องมีการรบราญกันอยู่บ่อย การเรียกกำลังพลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการหลบหนี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงตรากฎหมายการสักเลกขึ้น โดยไพร่ชายใดอายุถึงกำหนด ต้องสักเลก เพื่อให้สามารถตรวจสอบจำนวนคนได้ และถ้าหากมีการหลบหนีเมื่อใด อาจจะมีโทษถึงประหารชีวิต โดยพระเจ้ากรุงธนบุรีจะเป็นผู้ตัดสินคดีด้วยตัวของพระองค์เอง ส่วนชนชั้นอื่น ๆ ที่เหลือนั้นก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับอยุธยา

 

 

วัฒนธรรม

         รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแม้จะไม่ยาวนานนักได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอย่างมากเช่น ด้านศาสนาได้แต่งตั้งพระสังฆราช ด้านศิลปะผลงานไม่เด่นชัด ด้านการศึกษาเด็กผู้ชายจะมีโอกาสได้เรียนเท่านั้น

วรรณกรรม

        ถึงแม้ว่ากรุงธนบุรีจะดำรงอยู่เป็นเวลาอันสั้น วรรณกรรม วรรณคดีทั้งหลายถูกทำลายลง แต่ก็มีเวลาที่จะมาฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
  • สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2313 อันเป็นปีที่ 3 ในรัชกาลพระองค์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับนี้มี 4 ตอน แบ่งออกเป็น 4 เล่ม
หลวงสรวิชิต (หน) แต่งไว้ทั้งหมด 2 เรื่อง ในสมัยกรุงธนบุรี
ลิลิตเพชรมงกุฎ แต่งระหว่างปี พ.ศ. 2310 -2322
อิเหนาคำฉันท์ แต่งปี พ.ศ. 2322
  • นายสวน มหาดเล็ก
โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่งเมื่อ พ.ศ. 2314
นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน หรือ นิราศกวางตุ้ง แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2324 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรี
สรุปเหตุการณ์สำคัญสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ลำดับที่

พ.ศ.

เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้น

1

พ.ศ.2277

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระราชสมภพ (สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) บิดาชื่อ ไหฮอง มารดาชื่อ นางนกเอี้ยง มีกำเนิดเป็นสามัญชน เมื่อพระชนมายุได้ 4 วัน เจ้าพระยาจักรีขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

2

พ.ศ.2290

เมื่ออายุครบ 13 พรรษา ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

3

พ.ศ.2298

เมื่ออายุครบ 21 พรรษา ทรงผนวช ณ สำนักอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส เมื่อทรงลาสิกขาแล้วได้รับราชการในตำแหน่งหาดเล็กรายงานในกรมหาดเล็กไทยและกรมวังศาลหลวง

4

พ.ศ.2301

ปีต้นรัชกาลสมเด็จพระสุริยาศน์อมรินทร์หรือพระเจ้าเอกทัศ ได้เป็นพระยาเจ้าเมืองตาก ต่อมาเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ได้ขึ้นไปครอง

5

พ.ศ.2309

พระยาวชิรปราการพาพรรคพวกไทย-จีน ฝ่าวงล้อมพม่าออกจากรุงศรีอยุธยาไปซ่องสุมกำลังผู้คนและตระเตรียมกำลังทัพที่จันทบุรี

6

พ.ศ.2310

กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ 2 แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกอบกู้เอกราชคืนมาได้ในปีเดียวกัน และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่

7

พ.ศ.2311

เริ่มปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก แต่ไม่สำเร็จ ปราบชุมนุมเจ้าพิมายสำเร็จเป็นชุมนุมแรก

8

พ.ศ.2312

ปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชสำเร็จ ยกทัพไปตีเขมรครั้งแรกแต่ไม่สำเร็จ

9

พ.ศ.2313

รวบรวมประเทศได้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางสำเร็จ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ รบชนะพม่าที่สวรรคโลก และตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 1 จัดการปกครองและการศาสนาในหัวเมืองครั้งใหญ่

10

พ.ศ.2314

ยกทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2 และสามารถปราบเขมรไว้ในอำนาจ นายสวนมหาดเล็กแต่งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี

11

พ.ศ.2315

พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย ครั้งที่ 1 แต่ไม่สำเร็จ

12

พ.ศ.2316

รบชนะพม่าที่มาตีเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 ทำให้เกิดวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหัก

13

พ.ศ.2317

รบชนะพม่าที่บางแก้ว ราชบุรี พม่าถูกจับและเสียชีวิตไปมายมาก ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ได้สำเร็จ

14

พ.ศ.2318

พม่ายกทัพใหญ่มาตีหัวเมืองเหนือแต่ไม่สำเร็จ ถูกจับเป็นเชลยหลายหมื่นคน

15

พ.ศ.2319

พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่แต่ไม่สำเร็จ

16

พ.ศ.2321

โปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์ไปตีเวียงจันทน์และหลวงพระบาง ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาไว้ที่กรุงธนบุรี

17

พ.ศ.2323

เกิดจลาจในเขมร โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เจ้าพระยาสุรสีห์ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พรองค์เจ้าจุ๊ย ยกทัพไปตีกรุงกัมพูชา แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อน หลวงสรวิชิต(หน) แต่งอิเหนาคำฉันท์

18

พ.ศ.2324

ส่งทัพไปปราบจลาจลในเขมร

19

พ.ศ.2325

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 48 พรรษา เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 โดยถูกประหารชีวิตด้วยท่อนไม้จันทน์ด้วยทรงมีพระสติวิปลาส รวมเวลาครองราชย์ทั้งหมด 15 ปีเศษ
แบบทดสอบ