วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยอยุธยา


อาณาจักรอยุธยา 
     ป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 1893-2310 มีเมืองหลวงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิ[2] อีกทั้งยังเป็นอาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และฝรั่งเศส เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล โดยมีประเทศราชแผ่ขยายไปจนถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนานและมณฑลชานสี อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรจำปา และคาบสมุทรมมลายูในปัจจุบัน



ประวัติ 

     ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร
ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม)และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712 ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 (พ.ศ.นี้เทียบจาก จ.ศ. แต่จะตรงกับ ค.ศ.1351) ชื่อว่า กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี บุรีรมย์อุดมมหาสถานประวัติศาสตร์บางแห่ง[ต้องการอ้างอิง]ระบุว่าเกิดโรคระบาดขึ้น พระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงศรีอยุธยา



การขยายดินแดน

    กรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักรด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธม (พระนคร) ได้อย่างเด็ดขาดในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร



การล่มสลายของอาณาจักร

     ช่วงสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพร เนื่องจากพระองค์ทรงเลือกพระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ไม่เป็นไปตามราชประเพณี แต่พระเจ้าเอกทัศก็ทวงบัลลังก์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ครั้นในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงนำทัพมารุกรานอาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงถูกเรียกตัวมาบัญชาการตั้งรับพระนคร แต่ภายหลังจากที่กองทัพพม่ายกกลับนั้น พระองค์ก็ได้ลาผนวชดังเดิม
ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ บุตรของพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายเหนือภายใต้การบังคับของเนเมียวสีหบดี และฝ่ายใต้ภายใต้การนำของมังมหานรธา และมุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาทำการตั้งรับอย่างเข้มแข็ง และสามารถต้านทานการปิดล้อมของกองทัพพม่าไว้ได้นานถึง 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถเข้าเมืองได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310



      การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ส่วยสาอากร ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา โดยมีรายละเอียดดังนี้
           1.  จังกอบ หรือ จำกอบ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า ที่นำเข้ามาจำหน่ายตามที่ได้อธิบายข้างต้น
          2.  อากร หมายถึง ส่วนที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้ในการประกอบการต่างๆเช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ หรือการได้รับสิทธิจากรัฐบาลไปกระทำการ เช่น ต้มกลั่นสุรา เก็บของในป่า จับปลาในน้ำ ฯลฯ เช่น อากรค่านา อากรสวน อากรสุรา อากรค่าน้ำ เป็นต้น การเก็บอากรอาจจัดเก็บเป็นตัวเงินหรือเป็นสิ่งของ ถือเป็นภาษีที่จัดเก็บตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
          3.  ส่วย ความหมายของส่วย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานว่า คำว่า "ส่วย"

              -  สิ่งของที่รัฐบาลเรียกร้องเอาจากเมืองที่อยู่ภายใต้ปกครอง หรืออยู่ในความคุ้มครองเป็นค่าตอบแทนการปกครองหรือคุ้มครอง ส่วยตามความหมายนี้จึงมีลักษณะเป็นเครื่องราชบรรณาการ
               -   เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล เนื่องจากสังคมไทยแต่ดั้งเดิม มีระบบเกณฑ์แรงงานจากราษฎร โดยรัฐไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่จะให้ความคุ้มครองทางกฎหมายเป็นการตอบแทน ทั้งนี้เดิมราษฎรที่ถูกเกณฑ์แรงงาน จะมาประจำการเป็นเวลาปีละ 6 เดือน โดยผู้ที่ไม่มารับราชการเมื่อถึงเวรของตน จะต้องเสียส่วยเรียกว่า ส่วยแทนแรง เพื่อที่ราชการจะได้จ้างคนมาทำงานแทน ส่วยแทนแรง เพื่อที่ราชการจะได้จ้างคนมาทำงานแทน ส่วยแทนแรงนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเงินรัชชูปการในระยะต่อมา ( รัชกาลที่ 6 )
               -  เงินที่ทางราชการกำหนดให้ราษฎรร่วมรับภาระในการกระทำบางอย่าง เช่น เกณฑ์ให้ช่วยสร้างป้อมปราการ เป็นต้น
                  -  ทรัพย์มรดกของผู้มรณภาพซึ่งต้องถูกริบเป็นของหลวง อันเนื่องจากเกินกำลังของทายาทที่จะเอาไว้ใช้สอย เป็นต้น
          4.  ฤชา คือค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากราษฎรซึ่งได้รับประโยชน์จากรัฐเป็นการเฉพาะตัว เช่น ผู้ใดจะขอโฉนดตราสาร เพื่อมิให้ผู้อื่นบุกรุกแย่งชิงที่เรือกสวนไร่นา จักต้องเสียฤชาแก่รัฐ เป็นต้น ฤชาที่สำคัญได้แก่ ค่าธรรมเนียม และค่าปรับทางศาล


สำหรับส่วนกลางหรือราชธานี จัดระเบียบบริหารตามแบบเขมร คือ จัดเป็นจัตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีหน้าที่ดังนี้
๑.เวียงหรือเมือง มีขุนเมืองปกครองท้องที่บังคับบัญชาขุนและแขวงในกรุง รักษา ความเรียบร้อยปราบปรามโจรผู้ร้ายและลงโทษผู้ทำผิด

๒.วัง มีขุนวังดูแลราชการเกี่ยวกับราชสำนัก รักษาพระราชมณเฑียร พระราชวังชั้นนอก ชั้นใน พระราชพิธี ทั้งปวง บังคับบัญชาราชการฝ่ายใน รวมทั้งพิจารณาพิพากษาคดีของราษฎรเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระในด้านตุลาการ

๓.กรมคลัง มีขุนคลัง ทำหน้าที่จัดการ เกี่ยวกับพระราชทรัพย์การการภาษีอากร

๔.กรมนา มีขุนนาทำหน้าที่ดูแลการทำไร่ทำนา และจัดหารักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร



       - เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยุ่ ๔ ทิศ สำหรับป้องกันราชานี ระยะทางไปมาถึงกันภายใน ๒ วัน คือ เมืองลพบุรี เมือนนครนายก เมืองพระปะแดง และเมืองสุพรรณบุรี มีพระ ราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงปกครอง


      - มีหัวเมืองชั้นในอยู่ถัดออกไป คือ ทิศเหนือมีเมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองสิงห์ เมืองแพรก (เมืองสรรค์) ทิศตะวันออกมีเมืองปราจีนบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี ทิศใต้มี เมืองเพชรบุรี ทิศตะวันตกมีเมืองราชบุรี พระมหากษัตริย์แต่งตั้งเจ้าเมืองจากส่วนกลางให้ไปปกครองเมืองเหล่านี้


     - เมืองที่อยู่ไกลออกไป คือ เมืองเจ้าพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองใหญ่ เช่น เมืองนครราชสีมา (โคราดบุรี) เมืองจันทบุรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองเชียงกราน เป็นต้น มีเจ้า นายชั้นสูงไปปกครอง


     - เมืองที่อยู่ไกลออกไปมาก ประชาชนเป็นชาวต่างชาติต่างภาษากับอยุธยา เรียกว่าเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองกัมพูชา มะละกา และยะโฮว์
การบริหาราชการส่วนภูมิภาคแบบนี้มีข้อเสียตรงที่ว่า หัวเมืองชั้นนอกอยู่ไกลจากราชธานีระยะเดินทางหลายวันมาก ส่วนกลางไม่สามารถควบคุมใกล้ชิด เจ้าเมืองเหล่านี้จึง ปกครองบ้านเมืองอย่างแทบไม่ต้องขึ้นกับการบริหารราชการส่วนกลางเลย ดังนั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรัชกาลหรือกษัตริย์ที่ปกครองอ่อนแอ ความวุ่นวายมักจะเกิดขึ้นโดยเจ้าเมืองคิดตั้งตัวเป็นอิสระ ทำให้ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของราชอาณาจักร นอกจากนั้น เมืองลุกหลวงหรือเมืองหน้าด่านที่ให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงไปปกครองนั้น เป็นเมืองที่มีความสำคัญสำหรับป้องกันราชธานี ดังนั้น จึงต้องมีความเข้มแข็งมั่นคงมาก เมื่อเข้มแข็งและมั่น คงถึงขนาดอาจท้าทายพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ โดยเฉพาะถ้ามีการเปลี่ยนรัชกาลใหม่ เจ้าเมืองลูกหลวงอาจกระด้างกระเดื่องและที่ร้ายแรงหนักถึงขนาดยกทัพมาช่วงชิงพระราชบัลลังก์ก็มีมาแล้ว



ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ปัจจัยที่ทำให้อยุธยาต้องขยายอำนาจ
  • ทางการเมือง - ความเข้มแข็งและอำนาจของอาณาจักร
  • ทางเศรษฐกิจ - เพื่อความมั่งคั่งของอาณาจักร
รูปแบบความสัมพันธ์
     1.ด้านสู้รบ
    2.ระบบบรรณาการ
    3.ทางการฑูต/การค้า
  • จีน - ระบบบรรณาการ
  •  ญี่ปุ่น - ทางการค้า(สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ) แต่เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองของไทย พระเจ้าปราสาททองจึงกำราบ ทำให้ความสัมพันธ์เสื่อมลง แต่ไทยก็ยังคงค้าขายกับญี่ปุ่นอยู่ โดยผ่านทางฮอลันดา
  • อาณาจักรสุโขทัย - ทางการสู้รบ อยุธยาพยายามขยายอำนาจเข้าไปยังสุโขทัย
  • ล้านนา - ทางการสู้รบ อยุธยาพยายามขยายอำนาจเข้าไปยังล้านนา
  • พม่า - รูปแบบของการทำสงคราม และ เป็นสงครามที่ยืดยื้อ
  • ล้านช้าง - เป็นลักษณะมีไมตรีต่อกันตั้งแต่สถาปนากรุงศรีถึงสิ้นอยุธยา
  • เขมร - มีทั้งการสู้รบและด้านวัฒนธรรม โดยอยุธยาเป็นฝ่ายรับมา
  • หัวเมืองมลายู - อยุธยาขยายอำนาจไปยังหัวเมืองมลายูด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก
รูปแบบความสัมพันธ์
  1.สร้างสัมพันธ์ไมตรี
  2.รับวิทยาการตะวันตก
  3.รักษาเอกราชของอาณาจักร
  • โปรตุเกส - เป็นติแรกที่เข้ามาติดต่อกับอยุธยา
  • สเปน - การค้าไม่ขยายตัวกว้างมากนัก เพราะ สเปนมุ่งจะเจริญสัมพันธ์ไมตรี
  • ฮอลันดา - ผลประโยชน์ทางการค้า แต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฮอลันดาเริ่มไม่ชอบระเบียบการค้าขายกับไทยที่ต้องผ่านพระคลังสินค้า จึงส่งเรือรบมาปิดปากอ่าวไทย
  • ฝรั่งเศส - อยุธยาจึงมีสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส เพื่อถ่วงดุลย์อำนาจกับฮอลันดา
  • อังกฤษ - ความสัมพันธ์ด้านทางการค้าแต่ไม่ดีมากนัก

พระ ราชวงศ์

ราชวงศ์กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ
  1. ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
  2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
  3. ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
  4. ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์
ซึ่งรวมเป็นกษัตริย์รวม 33 พระองค์ ซึ่งถือว่ามีมาก ซึ่ง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปีเลยทีเดียว กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา

แบบทดสอบหลังเรียน
http://quickr.me/zEVZzZ4